เครื่องประดับ
ความเป็นมาของกลุ่มเจียระไนนิลจินดาพิทักษ์
นิลเป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่จะพบได้ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี โดยบริเวณนี้จะพบนิลในปริมาณที่มากกว่าพลอยจึงทำให้นิลดูด้อยค่าและมีราคาถูก แต่ในอดีตก็ยังมีกลุ่มชาวบ้านบางกลุ่มริเริ่มนำนิิลมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับและของที่ระลึกในรูปทองชุบ จำหน่ายตามงานเทศกาลต่างๆ และตามร้านค้าบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ทางรัฐบาลได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม หรือ SMEs อีกทั้งโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อต้องการให้ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาดัดแปลงเพิ่มคุณค่าและสร้างสรรค์ให้เป็นสินค้าต่างๆ ให้แต่ละครอบครัวมีรายได้มากขึ้น จึงทำการรวบรวมชาวบ้านที่มีฝีมือในการเจียระไนมาจัดตั้งเป็นกลุ่มฯ และเริ่มประกอบธุรกิจด้านการเจียระไนนิลประกอบตัวเรือนเงินแท้ 92.5% นับแต่นั้นเป็นต้นมา
จากความต้องการให้ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาดัดแปลงเพิ่มคุณค่าและสร้างสรรค์ให้เป็นสินค้าต่างๆ ให้แต่ละครอบครัวมีรายได้มากขึ้น จากวันนั้นถึงวันนี้จึงเป็นจุดกำเนิดของ "การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" เพื่อเป็นการพัฒนาทั้งในด้านรูปแบบสินค้าและคุณภาพให้ทุกๆ ผู้ประกอบการ OTOP คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในทุกๆ ปี และกลุ่มเจียระไนนิลจินดาพิทักษ์ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่สนองตอบความต้องการและดำเนินตามนโยบายของภาครัฐ พัฒนาส่งสินค้าเข้าประกวดในครั้งแรกที่ประกวดได้รับการคัดสรรสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว (OTOP Product Champion)
เนื่องจากความต้องการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและด้วยสำนึกรักบ้านเกิดของนายชูศักดิ์ คุุณากรประพันธ์ที่เห็นว่านิลในเวลานั้นมีราคาถูก มีการซื้อขายกันเป็นกิโลกรัมจะทำอย่างไรดีที่จะให้นิลที่มีอยู่มากและขายเป็นกิโลกรัมนั้นมาขายเป็นกะรัตได้ จึงได้หันมาประกอบธุรกิจทำเครื่องประดับนิลเข้าตัวเรือนเงิน และจากการสำรวจตลาดในเวลานั้นจะเห็นได้ว่า นิลที่มีขายอยู่นั้น รูปแบบยังไม่ทันสมัยและยังไม่สามารถนำจุดเด่นของนิลมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าดีเท่าที่ควร อีกทั้งนายชูศักดิ์คิดว่านิลยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่านี้ ด้วยการพัฒนารูปแบบและความประณีตให้มีมาตรฐานและคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปส่งออกไปยังต่างประเทศได้ จึงได้ทำการรวบรวมชาวบ้านเพื่อต้องการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีศักยภาพ โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มชาวบ้านที่มีฝีมือในการเจียระไนนิลมาพัฒนา ตั้งแต่การเน้นด้านงานเจียระไนนิลให้งานมีความประณีตมากขึ้นโดยการใช้จักรทองแดง ส่วนในการพัฒนาตัวเรือนแทนที่จะใช้ทองชุบอย่างแต่เดิมก็เปลี่ยนมาเป็นเงินแท้ 92.5% ชุบทองคำขาวตามมาตรฐานเครื่องประดับชั้นดีของตลาดต่างประเทศ ส่วนทางด้นของการออกแบบจะเน้นที่ความทันสมัยตามแฟชั่นของแต่ละปี ตามความนิยมและความต้องการของลูกค้าทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน อีกทั้งยังต้องการให้ชาวต่างชาติได้เป็นถึงความสามารถในการเจียรไนนิลของชาวไทยว่ามีความประณีต ความบรรจงและความมีฝีึมือในงานช่างประเภทนี้มากแค่ไหน เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาวต่างชาติที่มีความต้องการที่จะใช้หรือต้องการจำหน่ายในธุรกิจเครื่องประดับนี้ เข้ามาติดต่อเจรจาและซื้อหาสินค้าประเภทนี้ในประเทศไทยต่อไป